วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 23  เมษายน  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106



กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้เริ่มเข้าสู่บทเรียน "เรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาบุคคล"

     แผน IEP
  • แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น 
  • เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา 
  • ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
  • โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
     การเขียนแผน IEP
  • คัดแยกเด็กพิเศษ 
  • ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร 
  • ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
  • เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ 
  • แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
     IEP ประกอบด้วย
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง 
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน 
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น 
  • ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
  • วิธีการประเมินผล
     ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์ 
  • รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง 
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น 
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม 
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          การกำหนดจุดมุ่งหมาย

          1.จุดมุ่งหมายระยะยาว
  • กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
          – น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
          – น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
          – น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

         2.จุดมุ่งหมายระยะสั้น
  • ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
  • เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
  • จะสอนใคร 
  • พฤติกรรมอะไร 
  • เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
  • พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3.การใช้แผน
  • เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น 
  • นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
  • แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
  • จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

การจัดทำ IEP





                     หลังจากเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกันไม่เกิน 5 คน แล้วช่วยกันเขียนแผน IEP 





บรรยากาศภายในห้องเรียน








การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน


การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี


การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 9  เมษายน  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106





กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู่บทเรียน "เรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"


     เป้าหมาย
  • การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
  • มีความรู้สึกดีต่อตนเอง 
  • เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
  • พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น 
  • อยากสำรวจ อยากทดลอง
     ช่วงความสนใจ
  • ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ 
  • จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ

     การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
  • เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ 
  • เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ 
  • คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
     การรับรู้ การเคลื่อนไหว
  • ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
  • ตอบสนองอย่างเหมาะสม
     การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
  • การกรอกน้ำ ตวงน้ำ 
  • ต่อบล็อก 
  • ศิลปะ 
  • มุมบ้าน 
  • ช่วยเหลือตนเอง
     ความจำ
  • จากการสนทนา 
  • เมื่อเช้าหนูทานอะไร 
  • แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง 
  • จำตัวละครในนิทาน 
  • จำชื่อครู เพื่อน 
  • เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
  • การจำแนก
  • การเรียงลำดับ
  • การนับ
  • การสังเกต
  • ทักษะการเปรียบเทียบ
  • การวัด
  • รูปทรงและขนาด



บรรยากาศภายในห้องเรียน







การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน


การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี


การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26  มีนาคม  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106





กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำแบบทดสอบหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหามาทั้งหมด เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาก่อนเขียนแผนการสอนในครั้งต่อไป โดยในแบบทดสอบนั้นจะคล้ายๆกับที่อาจารย์เคยยกตัวอย่างให้กับนักศึกษาฟังในเวลาเรียน เพือเป็นการยกตัวอย่างง่ายๆและนักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น มาเป็นแบบทดสอบ เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาทั้งหมด

บรรยากาศภายในห้องเรียน







การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำแบบทดสอบ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ของตวเอง

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจทำแบบทดสอบ

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามได้บ้างเล็กน้อย

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19  มีนาคม  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106





กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู่บทเรียน หัวข้อเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ" ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

          ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
     หมายถึง การเรียนรู้ดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

1.การสร้างความอิสระ
  • เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  • อยากทำงานตามความสามารถ
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
2.ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
3.หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
4.จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เช่น หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
บรรยากาศภายในห้องเรียน




            หลังจากที่อาจารย์ได้ทำการอธิบายถึงบทเรียนเสร็จแล้ว ก็ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมหลังเรียน คือ กิจกรรมศิลปะ โดยการให้นักศึกษาใช้สีเทียนระบายสีเป็นวงกลม วงกลมละสี กี่วงก็ได้


ผลงานของดิฉัน





ผลงานของเพื่อนในห้อง




การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12  มีนาคม  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106




กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์เริ่มเข้าสู่บทเรียน หัวข้อเรื่อง "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

          ทักษะภาษา

1.การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม 
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม 
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม 
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม 
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
2.การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น 
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง 
  • ติดอ่าง
3.การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
  • ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด” 
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด 
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก 
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
          ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  1. ทักษะการรับรู้ภาษา 
  2. การแสดงออกทางภาษา 
  3. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
          ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  1. การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา 
  2. ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด 
  3. ให้เวลาเด็กได้พูด 
  4. คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น) 
  5. เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป) 
  6. เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  7. ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน 
  8. กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า) 
  9. เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด 
  10. ใช้คำถามปลายเปิด 
  11. เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
  12. ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
บรรยากาศภายในห้องเรียน 





     หลังจากเสร็จการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมศิลปะ บำบัดเด็กพิเศษ โดยการให้นักศึกษาจับคู่กัน และให้ฟังเพลงและขีดเส้นตรงไปตามเสียงเพลง พอเพลงจบอาจารย์ได้ให้ระบายสีช่องที่ปิดตายทุกช่องที่มี

ผลงาน






การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5  มีนาคม  พ.ศ.2558
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106




กิจกรรมวันนี้

         
     วันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมก่อนเรียน โดยให้นักศึกษาใส่ถุงมือข้างที่ไม่ถนัด และวาดรูปมือที่ใส่ถุงมือไว้ให้เหมือน หรือคล้ายของจริงที่สุด






     หลังจากเสร็จกิจกรรมอาจารย์ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียนในหัวข้อ "การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ"
    
      ทักษะของครู
          
1.การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น , สัมมนา 
  • สื่อต่างๆ
2.การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง 
  • ครูต้องเรียนรู้ หรือมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ 
  • รู้จักเด็กแต่ละคน 
  • มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
3.การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  • การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
4.ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ 
  • แรงจูงใจ 
  • โอกาส
5.การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม 
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก 
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก 
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก 
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก 
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้ 
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน 
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
6.อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ 
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง 
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ 
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
7.ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ 
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ 
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ 
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ 
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
          ทัศนคติของครู

1.ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก 
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
2.การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ 
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
บรรยากาศภายในห้องเรียน







การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้ง 6


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2558
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 กลุ่ม 106




กิจกรรมวันนี้

     วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู่บทเรียนในหัวข้อ "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"

     ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
     กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม 
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ 
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
     ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร 
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ 
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง 
  • ครูจดบันทึก 
  • ทำแผน IEP
     การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง 
  • คำนึงถึงเด็กทุกๆคน 
  • ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน 
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
     ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ 
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู 
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป 
  • เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น 
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
     การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน 
  • ทำโดย “การพูดนำของครู”
     ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ 
  • การให้โอกาสเด็ก 
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง 
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
    

 หลังจากจบบทเรียนแล้วอาจารย์ได้ให้นักศึกษาฝึกร้องเพลง ทั้งหมด 6 เพลง



     

     หลังจากจบการร้องเพลงแล้ว อาจารย์ได้มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษ เป็นกิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ ด้วยวิธีการเปิดเพลงให้เด็กฟังพร้อมกับลากเส้น และจุด ไปตามจังหวะเสียงดนตรี กิจกรรมนี้จะให้เด็กพิเศษร่วมทำกิจกรรมกับเด็กปกติ และหลังจากเด็กลากเส้นและจุด จนจบเสียงเพลง คุณครูจึงได้ลองให้เด็กๆลองมองภาพวาดของคู่ตนเองแล้วใช้จิตนาการว่าเป็นรูปอะไรได้บ้าง เช่น สัตว์ สิ่งของ หรือคน เป็นต้น

บรรยากาศาภายในห้องเรียน



บรรยากาศตอนทำกิจกรรม







การประเมินตนเอง
- วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอธิบายจากอาจารย์ จดบันทึก และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

การประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- วันนี้อาจาย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่าย พร้อมกับยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำในเรียนเวลาอีก เพื่อเป็นการนำไปสอนเด็กๆได้ด้วย